ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาวรัตนาภรณ์ ภูวงศ์(อ้อนแอ้น)

หน่วยที่1

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ

         ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
       มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
       ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
       จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
สรุป นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง กว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
      1) การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
      2) การศึกษาต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม
      3) สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
      4) การแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

แนวคิดพื้นฐานที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการศึกษาแบ่งได้4ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
        ความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้การจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง หรือใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นได้แก่
                1) การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
                2) แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
                3) เครื่องสอน (Teaching Machine)
                4) การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
                5) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
                6) เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction)

2. ความพร้อม (Readiness)
 แนวคิดเดิมเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ  ปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
       1) ศูนย์การเรียน              

       2) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
       3) การปรับปรุงการสอนสามชั้น
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
                การจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนในรูปแบบเก่า มักจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชาทุกวัน และจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอน
                ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากันบางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
          1) การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
          2) มหาวิทยาลัยเปิด
          3) แบบเรียนสำเร็จรูป
          4) การเรียนทางไปรษณีย์
 4. การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
         การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
             1) มหาวิทยาลัยเปิด
             2) การเรียนทางวิทยุ

             3)การเรียนทางโทรทัศน์ , การเรียนทางไปรษณีย์
             4) ชุดการเรียน

ลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา
1) เป็นความคิดเห็นหรือปฏิบัติการใหม่อย่างแท้จริง เป็นสิ่งที่ไม่มีใครค้นพบมาก่อน
2)  จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แล้วนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
3)  มีการจัดระบบขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง โดยพิจาณาตั้งแต่ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4)  มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า สิ่งใหม่ นั้น จะช่วยให้การแก้ปัญหา และดำเนินการบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
5)  ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอาไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี
ความหมายของ เทคโนโลยี
      ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่าง ๆ เหล่านั้น
      วิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่าง ๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (Technology)
      เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง กระบวนการผลิต การสร้าง วิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ

นวัตกรรมเเละเทคโนโลยี                                                                                         การใช้นวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยี (Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง 2 อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH” ซึ่งมาจากคำเต็มว่า  “Innovation Technology” เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
ในปัจจุบันการเรียนการสอนได้นำทฤษฏีการเรียนรู้  และหลักการมาใช้  เพื่อให้เกิดคุณภาพของการสอน  การใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนก็เป็นวิธีการที่ทำให้บทเรียนมีประสิทธิภาพ  4  ประการ  คือ
  1.  ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
  2.  ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
  3.  ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรง
  4.  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย
ประโยชน์ของการนำนวัตกรรม ระบบสารสนเทศไปใช้ในการบริหาร
1. ใช้ในการคำนวณ
2.ใช้เก็บข้อมูลและคำนวณ
3.ใช้ทำงานในสำนักงานทั่วไป
4.ใช้ในการกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว
5.ใช้ในการสื่อสาร
6.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
7. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
8. คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น